คำถามข้อที่ 2 ท่านคิดว่าภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการพัฒนาระบบสารสนเทศมีกี่ภาษา
คำถามที่ 2
ท่านคิดว่าภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการพัฒนาระบบสารสนเทศมีกี่ภาษา (นามสกุล) พร้อมระบุข้อดีข้อเสียของแต่ละภาษาดังกล่าว
1. ภาษาเบสิก (BASIC programming language)
เป็นภาษาโปรแกรมที่ออกแบบมาให้ใช้งานได้ง่าย และยังได้รับความนิยมมาจนถึงทุกวันนี้ เบสิกออกแบบมาให้ใช้กับคอมพิวเตอร์ตามบ้านซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ง่าย และติดตั้งอยู่บนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ส่วนมาก ใช้สำหรับผู้เริ่มต้นศึกษาการเขียนโปรแกรมและผู้ที่เขียนโปรแกรมเป็นงานอดิเรก นิยมใช้ในการเขียนโปรแกรมสั้น ๆ
ภาษา BASIC รุ่นแรกใช้ interpreter เป็นตัวแปลภาษา ทำให้เขียนโปรแกรม ทดสอบ และแก้ไขโปรแกรมได้อย่างง่ายดาย แต่ก็ทำงานได้ช้า ทำให้ผู้ที่เขียนโปรแกรมเชี่ยวชาญแล้วไม่นิยมใช้งาน แต่ปัจจุบันนี้มีภาษา BASIC รุ่นใหม่ออกมาซึ่งใช้ complier เป็นตัวแปลภาษา ทำให้ทำงานได้คล่องตัวขึ้น เช่น Microsoft's Quick BASIC และ Visual Basic เป็นต้น
ชื่อภาษาเบสิก หรือ BASIC ย่อมาจาก Beginner's All-purpose Symbolic Instruction Code ต้องเขียนด้วยตัวพิมพ์ใหญ่เสมอ บริษัทไมโครซอฟท์ได้นำภาษาเบสิกมาปรับปรุงให้ทันสมัย และพัฒนาเครื่องมือพัฒนาโปรแกรม Visual Basic ทำให้เบสิกได้รับความนิยมในการพัฒนาโปรแกรมยุคใหม่ รุ่นล่าสุดของวิชวลเบสิกเรียกว่า VB.NET
2. ภาษาเพิร์ล หรือ Perl
ภาษาเพิร์ล หรือ Perl (ย่อมาจาก Practical Extraction and Report Language) เป็นภาษาโปรแกรมแบบไดนามิก พัฒนาโดยนายแลร์รี วอลล์ (Larry Wall) ในปี ค.ศ. 1987 เพื่อใช้งานกับระบบปฏิบัติการยูนิกซ์
ภาษาเพิร์ล นั้นถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้ง่าย โครงสร้างของภาษาจึงไม่ซับซ้อน มีลักษณะคล้ายกับภาษาซี นอกจากนี้เพิร์ลยังได้แนวคิดบางอย่าง มาจากเชลล์สคริปต์, ภาษา AWK, sed และ Lisp ปัจจุบันเวอร์ชันล่าสุดคือ 5.10.0 (ออกเมื่อเดือนธันวาคม 2007)
ข้อดีของภาษาเพิร์ล หรือ Perl
1. ง่ายต่อการเรียนรู้ โดยภาษา Perl มีโครงสร้างของภาษาไม่ซับซ้อนเข้าใจง่าย ซึ่งโครงสร้างภาษา Perl จะคล้ายกับภาษา C มาก เพราะภาษา Perl สร้างขึ้นมาโดยใช้ภาษา C ทำให้ผู้ที่คุ้นเคยภาษา C อยู้แล้วใช้งานภาษา Perl ได้ไม่ยาก นอกจากนี้โดยตัวภาษาเองมีความยืดหยุ่นสูงทำให้การจัดการกับงานด้านข้อความ และ Text File ได้เป้นอย่างดี
2. ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น เพราะตัวแปรภาษา Perl อยู่ภายใต้ลิขสิทธิ์ GNU
3. ใช้ได้หลายแพลตฟอร์ม ในช่วงแรกภาษา Perl ถูกออกแบบใช้งานกับระบบ Unix อยู่ก็จริง แต่ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาตัวแปลภาษา Perl ให้สามารถใช้กับระบบปฏิบัติการอื่นๆ อาทิเช่น Linux, Windows 95/98/ME, Windows NT, Windows 2000, OS/2, Macintosh
4. ภาษา Perl ถูกสร้างขึ้นโดยได้รวบรวมเอาส่วนดีของภาษาต่างๆ เข้ามาไว้ด้วยกัน อาทิเช่น ภาษา C, grep/awk, sh, sed
5. ภาษา Perl เป็นภาษาประเภท Server side Script คือการทำงานของภาษา Perl จะทำงานด้านฝั่ง Server แล้วส่งผลลัพธ์กลับมายัง Client ทำให้มีความปลอดภัยสูง
3. ภาษาพีเอชพี (PHP)
ภาษาพีเอชพี (PHP) คือ ภาษาคอมพิวเตอร์ในลักษณะเซิร์ฟเวอร์-ไซด์ สคริปต์ โดยลิขสิทธิ์อยู่ในลักษณะโอเพนซอร์ส ภาษาพีเอชพีใช้สำหรับจัดทำเว็บไซต์ และแสดงผลออกมาในรูปแบบ HTML โดยมีรากฐานโครงสร้างคำสั่งมาจากภาษา ภาษาซี ภาษาจาวา และ ภาษาเพิร์ล ซึ่ง ภาษาพีเอชพี นั้นง่ายต่อการเรียนรู้ ซึ่งเป้าหมายหลักของภาษานี้ คือให้นักพัฒนาเว็บไซต์สามารถเขียน เว็บเพจ ที่มีความตอบโต้ได้อย่างรวดเร็ว
ภาษาพีเอชพี ในชื่อภาษาอังกฤษว่า PHP ซึ่งใช้เป็นคำย่อแบบกล่าวซ้ำ จากคำว่า PHP Hypertext Preprocessor หรือชื่อเดิม Personal Home Page
ซอฟต์แวร์ หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์จึงเป็นส่วนสำคัญที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ให้ ดำเนินการตามแนวความคิดที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว คอมพิวเตอร์ต้องทำงานตามโปรแกรมเท่านั้น ไม่สามารถทำงานที่นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในโปรแกรม
ข้อดี
ฟรี ง่าย มีเกือบทุก server function ครบ
ข้อเสีย
ไม่สามารถ debug ได้เวลา มี error หายาก
4. ภาษา COBOL
เป็นภาษาระดับสูงที่ออกแบบมาตั้งแต่ปีค.ศ. 1960 นิยมใช้สำหรับการแก้ปัญหาทางด้านธุรกิจ เช่น การจัดเก็บ เรียกใช้ และประมวลผลทางด้านบัญชี ตลอดจนทำงานด้านการควบคุมสินค้าคงคลัง การรับและจ่ายเงิน เป็นต้น
คำสั่งของภาษา COBOL จะคล้ายกับภาษาอังกฤษทำให้สามารถอ่านและเขียนโปรแกรมได้ไม่ยากนัก ในยุคแรก ๆ ภาษา COBOL จะได้รับความนิยมบนเครื่องระดับเมนเฟรม แต่ปัจจุบันนี้จะมีตัวแปลภาษา COBOL ที่ใช้บนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ด้วย รวมทั้งมีภาษา COBOL ที่ได้รับการออกแบบตามแนวทางเชิงวัตถุ (Object Oriented) เรียกว่า Visual COBOLซึ่งช่วยให้โปรแกรมสามารถทำได้ง่ายขึ้น และสามารถนำโปรแกรมที่เขียนไว้มาใช้ในการพัฒนางานอื่น ๆ อีก ซึ่งภาษาโคบอล เป็นภาษาที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานด้านการประมวลผลในทางธุรกิจโดยเฉพาะ เป็นภาษาที่มีความใกล้เคียงกับภาษาอังกฤษมากที่สุด ซึ่ง Source Program สามารถในไปใช้เป็นเอกสารประกอบโปรแกรมได้ เพราะมีความละเอียดพอที่จะอ่านโปรแกรมได้อย่างเข้าใจ ภาษาโคบอลเป็นภาษาที่ไมเหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มศึกษาคอมพิวเตอร์ศาสตร์ เนื่องจากเป็นภาษาที่ค่อนข้างจะยาก และมีกฎเกณฑ์ต่าง ๆที่ยุงยากอยู่มิใช้น้อย ผู้ที่ต้องการจะศึกษาการเขียนโปรแกรมภาษาโคบอล ควรจะมีความรู้ในเรื่องของการประมวลผลข้อมูลเป็นอย่างดี และจะต้องศึกษาหรือมีความรู้พื้นฐานทางด้านคอมพิวเตอร์ศาสตร์อยู่มากพอสมควร
ข้อดีของภาษาโคบอล
1. เป็นภาษาที่เข้าใจง่าย เนื่องจากคำสั่งเป็นภาษาอังกฤษ เช่น OPEN READ WRITE GOTO ฯลฯ
2. ใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกประเภท
3. เหมาะกับงานข้อมูลที่ใช้ในงานประมวลผลทางธุรกิจ
4. มีรูปแบบการพิมพ์รายงาน
5. สามารถใช้ประมวลผลแฟ้มข้อมูลได้หลายแบบ ได้แก่แฟ้มลำดับ แฟ้มสุ่ม แฟ้มลำดับเชิงดัชนีและแฟ้มที่มีหลายคีย์
6. ใช้เป็นเอกสารอ้างอิงประกอบโปรแกรมได้
ข้อเสียของภาษาโคบอล
1. ใช้คำในภาษาฟุ่มเฟือย ทำให้ตัวโปรแกรมค่อนข้างยาว
2. มีตัวแปลภาษาที่ใหญ่ กินเนื้อที่ในหน่วยความจำ
3. มี function การคำนวณน้อย
5. ภาษา Fortran
เป็นภาษาระดับสูงที่ได้รับการพัฒนาโดยบริษัท IBM ตั้งแต่ปีค.ศ. 1957 ย่อมาจากคำว่า Formula Translator ซึ่งถือว่าเป็นการกำเนิดของภาษาระดับสูงภาษาแรก นิยมใช้สำหรับงานที่มีการคำนวณมาก ๆ เช่น งานทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ เป็นต้น
6. ภาษา Pascal
เป็นภาษาระดับสูงที่เอื้ออำนวยให้ผู้เขียนโปรแกรมเขียนโปรแกรมได้อย่างมีโครงสร้าง และเขียนโปรแกรมได้ง่ายกว่าภาษาอื่น นิยมใช้บนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เป็นภาษาสำหรับการเรียนการสอน และการเขียนโปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ
ภาษาปาสคาลมีตัวแปลภาษาทั้งที่เป็น interpreter และ Compiler โดยจะมีโปรแกรมเทอร์โบปาสคาล (Turbo Pascal) ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงทั้งในวงการศึกษาและธุรกิจ เนื่องจากได้รับการปรับปรุงให้ตัวข้อเสียของภาษาปาสคาลรุ่นแรก ๆ ออก
7. ภาษา C และ C++
ภาษา C ถูกพัฒนาขึ้นโดย ในปีค.ศ. 1972 ที่ห้องปฏิบัติการเบลล์ของบริษัท AT&T เป็นภาษาที่ใช้เขียนระบบปฏิบัติการ UNIX ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่ได้รับความนิยมคู่กับภาษาซี และมีการใช้งานอยู่ในเครื่องทุกระดับ
ภาษา เป็นภาษาระดับสูงที่ได้รับความนิยมในหมู่นักเขียนโปรแกรมเป็นอย่างมาก เนื่องจากภาษา จะเป็นภาษาที่รวมเอกข้อดีของภาษาระดับสูงในเรื่องของความยืดหยุ่นและไวยากรณ์ที่ง่ายต่อการเข้าใจ กับข้อดีของภาษาแอสเซมบลีในเรื่องของประสิทธิภาพและความเร็วในการทำงานทำให้โปรแกรมที่พัฒนาด้วยภาษาซีทำงานได้เร็วกว่าโปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาระดับสูงอื่น ๆ ในขณะที่การพัฒนาและแก้ไขโปรแกรมสามารถทำได้ง่ายเช่นเดียวกันภาษาระดับสูงทั่ว ๆ ไป นอกจากนี้ภาษา C ยังได้มีการพัฒนาก้าวหน้าขึ้นไปอีก โดยทำการประยุกต์แนวความคิดของการโปรแกรมเชิงวัตถุเข้ามาใช้ในภาษา ทำให้เกิดเป็นภาษาใหม่คือ C++ (++ ในความหมายของภาษาซีคือการเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งนั่นเอง) ซึ่งเป็นภาษาที่ได้รับความนิยมใช้งานพัฒนาโปรแกรมอย่างมาก
ภาษา C ได้เขียนขึ้นและเก็บไว้ใน header file ภาษา C คือเก็บไว้ในแฟ้มที่มีนามสกุล *.h ต่าง ๆ เมื่อต้องการใช้ฟังก์ชันใด จะต้องรู้ว่าฟังก์ชันนั้นอยู่ใน header file ใดจากนั้นจึงค่อยใช้คำสั่ง #include<header file.h> เข้ามาในส่วนตอนต้นของโปรแกรม จึงจะสามารถใช้ฟังก์ชันที่ต้องการได้ ซึ่งฟังก์ชันมาตรฐานเป็นฟังก์ชันที่บริษัทผู้ผลิต C compiler เขียนขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้นำไปช่วยในการเขียนโปรแกรมทำให้การเขียนโปรแกรมสะดวกและง่ายขึ้น บางครั้งเราอาจจะเรียกฟังก์ชันมาตรฐานว่า ”ไลบรารีฟังก์ชัน” (library functions)
ตัวอย่างที่ 7.1 แสดงตัวอย่างฟังก์ชันมาตรฐาน เช่น ฟังก์ชัน pow(x,y) คือ ฟังก์ชันที่ใช้หาค่ายกกำลังของ xy โดยที่ตัวแปร x และตัวแปร y มีชนิดเป็น double ซึ่งฟังก์ชัน pow(x,y) จะถูกเก็บไว้ใน header file ที่ชื่อว่า math.h ดังนั้นจึงต้องใช้คำสั่ง #include<math.h> แทรกอยู่ในส่วนตอนต้นของโปรแกรมเหนือฟังก์ชัน main( ) จึงจะสามารถเรียกใช้ฟังก์ชัน pow(x,y) มาใช้งานภายในโปรแกรมนี้ได้
ข้อดีของภาษา C
1. สมรรถนะสูง (Powerful) มีความน่าเชื่อถือและมีคลังโปรแกรมให้เรียกใช้จำนวนมาก เช่น คลังโปรแกรมเกี่ยวกับเครือข่าย อินเตอร์เน็ต ระบบการจัดการแฟ้มเป็นต้น
2. ประสิทธิภาพ (Efficient) เมื่อแปลงเป็นแฟ้ม source code ภาษาซี เป็น .exe แล้วจะได้ข้อมูลขนาดเล็กให้ทำงานได้เร็วกว่าภาษาระดับสูงอื่นๆ เช่น PASCAL หรือ BASIC เป็นต้น
3. ยืดหยุ่นสูง (Flexible) นักเขียนโปรแกรมสามารถเขียนโปรแกรมจัดการข้อมูลได้ถึงระดับ บิต หรือ ไบต์ สามารถติดต่อกับอุปกรณ์ต่างๆได้ง่ายโดยเฉพาะงานการเขียน ดีไวท์ไดเวอร์ (Device-driver) หรือโปรแกรมควบคุมอุปกรณ์
4. โครงสร้างที่ดี ภาษาซีเป็นลักษณะโครงสร้าง (Structured language) ทำให้การพัฒนาโปรแกรมแบบโครงสร้างทำได้โดยง่าย อีกทั้งไวยากรณ์ของ C มีไม่มากนักมีความชัดเจนทำให้ง่ายในการทำความเข้าใจ
5. โมดูลล่าร์ (Modular) ภาษาซีสนับสนุนให้มีการพัฒนาโปรแกรมแบบโมดูลล่าร์ โดยมีหลักการว่า โปรแกรม 1 โปรแกรมประกอบจากส่วนของโปรแกรมชิ้นเล็กๆ มาประกอบกัน โปรแกรมชิ้นเล็กๆนี้เรียกว่าโปรแกรมย่อย หรือโมดุล โดยแต่ละโมดูลเป็นอิสระจากโมดูลอื่นๆ แนวความคิดนี้ช่วยให้เรามองปัญหาออกเป็นส่วนๆ โดยแต่ละส่วนมีหน้าที่ชัดเจนและนำส่วนเหล่านั้นมาประกอบกัน ทำให้ง่ายในการบำรุงรักษาต่อไป และเพิ่มขีดความสามารถของโปรแกรมได้ง่าย ภาษาซี รองรับแนวคิดได้ด้วยการนำแฟ้มโมดูลที่แปลไว้แล้วนำมารวมเข้ากับโปรแกรมที่เขียนด้วยการใช้ ไดเร็กทีฟ # include ซึ่งในภาษาซี มีคลังโปรแกรมต่างๆให้เลือก
6. ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมการประมวลผลได้ง่าย (Portable) ภาษา ซี ถือว่าเป็นภาษาที่ปรับเปลี่ยน เพื่อนำไปประมวลผลในสภาพแวดล้อมต่างกันได้ง่าย เช่น เขียนบนยูนิกต์แล้วนำมาประมวลผลบนดอสได้ เป็นต้น
ข้อเสียของภาษา C
เนื่องจากภาษาซี มีรูปแบบการเขียนที่ให้อิสระแก่นักเขียนโปรแกรมมาก ดังนั้น การเขียนโปรแกรมเพื่อให้ได้ผลลัพธ์แบบเดียวกันอาจทำได้หลายรูปแบบ เช่นคำสั่ง x + = 1; กับ X ++; ทั้งสองคำสั่งมีผลลัพธ์เหมือนกัน หรือตัวดำเนินการบางตัวอาจทำให้สับสน เช่น การใช้เครื่องหมาย * ซึ่งมีความหมายได้ทั้งการคูณ หรือการหาค่าในเลขที่อยู่ของตัวชี้ที่อ้างถึงเมื่อเขียนโปรแกรมโดยไม่มีหมายเหตุ หรือเอกสารกำกับที่ดี อาจทำให้ต้องเสียเวลาทำความเข้าใจ เพิ่มค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาโปรแกรม เป็นต้น
8. ภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object-Oriented Programming Language)
นักเขียนโปรแกรมบางคนคิดว่าการเขียนโปรแกรมขนาดใหญ่นั้น บางครั้งก็เป็นงานที่หนักและเสียเวลามาก จึงได้พยายามคิดหาวิธีที่จะทำให้การเขียนโปรแกรมนั้นง่ายขึ้น และสามารถเขียนได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดเทคนิค การโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object-Oriented Programming) หรือ OOP เพื่อช่วยลดความยุ่งยากของการเขียนโปรแกรม
Object-Oriented Programming ต่างจากการเขียนโปรแกรมโดยทั่ว ๆ ไป โดยการเขียนโปรแกรมตามปกตินั้น ผู้เขียนโปรแกรมจะพิจารณาถึงขั้นตอนการแก้ปัญหาของโปรแกรมเหล่านั้น แต่เทคนิคของ OOPจะมองเป็น วัตถุ (object) เช่น กล่องโต้ตอบ (dialog box) หรือไอคอนบนจอภาพ เป็นต้น โดยออบเจ็คใดออบเจ็คหนึ่งจะทำงานเฉพาะที่แน่นอน ถ้าผู้ใช้ต้องการทำงานชนิดนั้นก็สามารถคัดลอกไปใช้ในโปรแกรมที่ต้องการได้ทันที
หลักการของโปรแกรมเชิงวัตถุได้รับการพัฒนามาเป็นเวลานานแล้ว โดยภาษาเริ่มแรกคือ Simula-67 ได้รับการพัฒนาขึ้นตั้งแต่ปี 1967 และต่อมาก็มีภาษา smalltalk ซึ่งเป็นภาษาเชิงวัตถุเต็มรูปแบบ นอกจากนี้ หลักการของ OOP ยังได้รับการนไปเสริมเข้ากับภาษาโปรแกรมในยุคที่ 3 คือ C จนเกิดเป็นภาษาใหม่คือ C++ รวมทั้งยังมีการเสริมเข้ากับ การโปรแกรมแบบภาพ (visual programming) ทำให้เกิด Visual Basic ซึ่งมีรากฐานมาจาก BASIC และ Delphi ซึ่งมีรากฐานมาจาก Pascal นอกจากนี้ ในปัจจุบันจะมีภาษาที่ใช้หลักการโปรแกรมเชิงวัตถุตัวใหม่ล่าสุดซึ่งกำลังมาแรงและมีแนวโน้มว่าจะได้รับความนิยมสูงคู่กันอินเตอร์เน็ต นั่นคือภาษา JAVA
9. ภาษาที่ออกแบบมาสำหรับ OOP
การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ที่มี การติดต่อกับผู้ใช้แบบกราฟิก (Graphical User Interface หรือ GUI) เช่น Microsoft Windows และ World Wide Web จะสามารถทำได้ง่าย รวดเร็วและเสียค่าใช้จ่ายไม่มากนัก ด้วยเครื่องมือในการพัฒนาที่ใช้หลักการของ OOP ซึ่งในปัจจุบันจะมีเครื่องมือประเภทนี้ที่ได้รับความนิยมอย่างมากอยู่ 2 ภาษา คือ Visual Basic และ JAVA
10. Visual Basic
ภาษา Visual Basic พัฒนาโดย Prof. Kemeny และ Kurtz ที่เมือง Dartmouth ในปีค.ศ. 1960 โดยมีจุดประสงค์สำหรับใช้สอนในห้องคอมพิวเตอร์ เมื่อมีการพัฒนาเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ขึ้นในยุคแรก ๆ จะมีหน่วยความจำไม่เพียงพอที่จะทำงานกับโปรแกรมภาษาอื่น เช่น FORTRAN และ COBOL เพราะขนาดของตัวแปรภาษาซึ่งต้องใช้หน่วยความจำสูงมาก แต่เครื่องเหล่านั้นสามารถใช้ภาษา BASIC ได้ เพราะภาษา BASIC ใช้ตัวแปลภาษาที่มีขนาดเล็ก และตัวแปลภาษานั้นไม่ต้องเก็บอยู่ในหน่วยความจำทั้งหมดก็สามารถทำงานได้ เป็นเหตุให้ภาษา BASIC ได้รับความนิยมบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์จะได้รับการพัฒนาสูงขึ้นในเรื่องของความเร็วและหน่วยความจำเท่าใดก็ตาม แต่ภาษา Visual Basic จะแตกต่างจากภาษา BASIC โดยสิ้นเชิง ทั้งในแง่ของหน่วยความจำที่ต้องการ และวิธีการพัฒนาโปรแกรม
ภาษา Visual Basic ได้รับการออกแบบและพัฒนาโดยบริษัท Microsoft มีจุดประสงค์ในการใช้เป็นเครื่องมือพัฒนาโปรแกรมที่มีการติดต่อกับผู้ใช้เป็นแบบกราฟิก โดยจะมีเครื่องมือต่าง ๆ ที่ช่วยในการพัฒนาโปรแกรมอย่างรวดเร็ว หรือที่นิยมเรียกว่า RAD (Repid Application Development) ปัจจุบันนี้มีผู้ใช้งานภาษา Visual Basic เป็นจำนวนมาก โดยภาษา Visual Basic ได้รับการออกแบบให้ทำงานบนระบบวินโดว์เวอร์ชั่นต่าง ๆ จากไมโครซอฟต์ เช่น Visual Basic 3 ทำงานบนระบบวินโดว์ 3.11 ส่วน Visual Basic 4 และ 5 ทำงานบนระบบวินโดว์ 95 เป็นต้น
11. JAVA
ภาษาใหม่ที่มาแรงที่สุดในปัจจุบัน คงจะไม่มีภาษาไหนที่เทียบได้รับภาษาจาวาซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นโดยบริษัทซันไมโครซิสเตมส์ ในปี 1991 โดยมีเป้าหมายที่จะสร้างผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภคที่ง่ายต่อการใช้ง่าย มีค่าใช้จ่ายต่ำ ไม่มีข้อผิดพลาด และสามารถใช้กับเครื่องใด ๆ ก็ได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็ได้กลายเป็นข้อดีของจาวาที่เหนื่อกว่าภาษาอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่โปรแกรมซึ่งเขียนขึ้นด้วยจาวาสามารถนำไปใช้กับเครื่องต่าง ๆ โดยไม่ต้องทำการคอมไพล์โปรแกรมใหม่ ทำให้ไม่จำกัดอยู่กับเครื่องหรือโอเอสตัวใดตัวหนึ่ง แม้ว่าการใช้งานจาวาในช่วงแรกจะจำกัดอยู่กับ World Wide Web (WWW) และ Internet แต่ในปัจจุบันได้มีการนำจาวาไปประยุกต์ใช้กับงานด้านซอฟต์แวร์ต่าง ๆ อย่างมากมาย ตั้งแต่ซอฟต์แวร์อรรถประโยชน์ (Utility) ไปจนกระทั่งซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ เช่น โปรแกรมชุดจากบริษัท Corel ซึ่งประกอบด้วยโปรแกรมหลัก ๆ คือ โปรแกรมเวิร์โปรเซสซิ่ง สเปรดซีต พรีเซนเตชั่น ที่เขียนขึ้นด้วยจาวาทั้งหมด
จาวายังสามารถนำไปใช้เป็นภาษาสำหรับอุปกรณ์แบบฝังต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์ และอุปกรณ์ขนาดมือถือแบบต่าง ๆ เป็นต้น รวมทั้งยังได้รับความนิยมนำไปใช้กับอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเข้าสู่อินเตอร์เน็ตโดยไม่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ นอกจากนี้แล้ว จาวายังเป็นภาษาที่ถูกใช้งานในคอมพิวเตอร์แบบเอ็นซี (NC) ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์แบบใหม่ล่าสุด ที่เน้นการทำงานเป็นเครือข่ายว่า แอพเพลต (applet) ที่ต้องการใช้งานขณะนั้นมาจากเครื่องแม่ ทำให้การติดต่อสื่อสารสารผ่านเครือข่ายใช้ช่องทางการสื่อสารน้อยกว่าการดึงมาทั้งโปรแกรมเป็นอย่างมาก
12. JavaScript
JavaScript เป็นภาษายุคใหม่สำหรับการเขียนโปรแกรมบนระบบอินเทอร์เน็ตที่กำลังได้รับความ นิยมอย่างสูง เราสามารถเขียน โปรแกรม JavaScript เพิ่มเข้าไปในเว็บเพจเพื่อใช้ประโยชน์สำหรับงานด้านต่าง ๆ ทั้งการคำนวณ การแสดงผล การรับ-ส่งข้อมูล และที่ สำคัญคือ สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้อย่างทันทีทันได นอกจากนี้ยังมีความสามารถด้านอื่น ๆ อีกหลายประการที่ช่วยสร้างความน่าสนใจให้ กับเว็บเพจของเราได้อย่างมาก ภาษาจาวาสคริปต์ถูกพัฒนาโดย เน็ตสเคปคอมมิวนิเคชันส์ (Netscape Communications Corporation) โดยใช้ชื่อว่า Live Script ออกมาพร้อมกับ Netscape Navigator2.0 เพื่อใช้สร้างเว็บเพจโดยติดต่อกับเซิร์ฟเวอร์แบบ Live Wire ต่อมาเน็ตสเคปจึงได้ร่วมมือกับ บริษัทซันไมโครซิสเต็มส์ปรับปรุงระบบของบราวเซอร์เพื่อให้สามารถติดต่อใช้ งานกับภาษาจาวาได้ และได้ปรับปรุง LiveScript ใหม่เมื่อ ปี 2538 แล้วตั้งชื่อใหม่ว่า JavaScript
ลักษณะการทำงานของ JavaScript
JavaScript เป็นภาษาสคริปต์เชิงวัตถุ หรือเรียกว่า อ็อบเจ็กโอเรียลเต็ด (Object Oriented Programming) ที่มีเป้าหมายในการ ออกแบบและพัฒนาโปรแกรมในระบบอินเทอร์เน็ต สำหรับผู้เขียนเอาสารด้วยภาษา HTML สามารถทำงานข้ามแพลตฟอร์มได้ทำงานร่วมกับ ภาษา HTML และภาษาจาวาได้ทั้งทางฝั่งไคลเอนต์ (Client) และ ทางฝั่งเซิร์ฟเวอร์ (Server) โดยมีลักษณะการทำงานดังนี้ 1. Navigator JavaScript เป็น Client-Side JavaScript ซึ่งหมายถึง JavaScript ที่ถูกแปลทางฝั่งไคลเอนต์ (หมายถึงฝั่งเครื่อง คอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องพีซี เครื่องแมคอินทอช หรือ อื่น ๆ) จึงมีความเหมาะสมต่อการใช้งานของผู้ใช้ทั่วไปเป็นส่วนใหญ่ 2. LiveWire JavaScript เป็น Server-Side JavaScript ซึ่งหมายถึง JavaScript ที่ถูกแปลทางฝั่งเซิร์ฟเวอร์ (หมายถึงฝั่งเครื่อง คอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการเว้บ โดยอาจจะเป็นเครื่องของซัน ซิลิคอมกราฟิกส์ หรือ อื่น ๆ) สามารถใช้ได้เฉพาะกับ LIveWire ของเน็ตสเคป โดยตรง นางสาวภัทรวดี บุญสิงห์
รหัส 511600377 นักศึกษาปริญญาโทสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศชั้นปีที่ 1
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น