คำถามที่ 3 ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (EIS)
คำถามที่ 3
ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (EIS) ของบริษัทเงินทุน Fidelity
ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (EIS) ได้เปลี่ยนรูปแบบการทำงานของผู้บริหารในบริษัทเงินทุน Fidelity จากการรับข้อมูลจากรายงานที่แจกด้วยสำเนาเอกสาร มาเป็นการรับข้อมูลปฏิบัติ การผ่านระบบคอมพิวเตอร์จากระบบฐานข้อมูลได้ทันที ทำให้ผู้วิเคราะห์ข้อมูลและผู้บริหารใช้ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (EIS) เพื่อรับข้อมูลที่ต่อเชื่อมตรง (On-line) ผ่านไมโครคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย (Network) จึงไม่จำเป็นต้องผลิตรายงานแบบนำมาปะติดปะต่อกันอีก เพราะรายงานที่รวบรวมได้นั้นสามารถส่งถึงผู้ใช้ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (EIS) ได้มากกว่า 100 ราย บริษัทเงินทุน Fidelity มีความภาคภูมิใจที่ได้ลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) เพื่อช่วยเพิ่มศักยภาพด้านการแข่งขันในตลาดการเงินที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วทั้งในประเทศและต่างประเทศทั่วโลก
บริษัทเงินทุน Fidelity ทำการบริหารกิจการเงินทุนร่วม (Mutual fund) มากกว่า 60 ราย รวมทั้งบริษัทเงินทุน McGallan ด้วย บริษัทที่ใหญ่ที่สุด คือ American Mutual Fund ซึ่งดำเนินงานกิจการที่มีมูลค่าถึง 165 พันล้านดอลลาร์
เป็นที่เข้าใจกันว่าการจัดทำระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (EIS) เพื่อให้ได้รับข้อมูลที่มีความสมบูรณ์ การใช้เครื่องเมือเพื่อสร้างตัวแบบสิ่งอำนวยความสะดวกที่จะสามารถช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจได้อย่างถูกต้องไม่ใช่เรื่องเล็ก ระบบใหม่ซึ่งเรียกว่า “เฟมิส (Famis)” เป็นการบริหารด้านการเงินและการบริหารด้านข่าวสารซึ่งช่วยให้สามารถบ่งชี้และเลือกใช้ข้อมูลได้โดยง่าย นอกจากนั้นอาจใช้ซอฟต์แวร์ Excel หรือโปรแกรมตัวแบบของระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (EIS) ร่วมด้วย ซึ่งจะทำให้ข้อมูลถูกจัดเก็บไว้ในรูปแบบต่าง ๆ ของระบบแฟ้มข้อมูล
บุคคลในวงการธนาคารได้มีปฏิกิริยาในทางบวกต่อระบบเฟมิส (Famis) ดังกล่าว ผู้วิเคราะห์และผู้จัดการฝ่ายการเงินชี้แจงว่ามีความพอใจระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ และรู้สึกขอบคุณที่มีสิทธิ์ได้เข้าสู่ระบบข่าวสารที่ทันเหตุการณ์และมีส่วนเกี่ยวข้องกับหน้าที่การานของตน บุคคลเหล่านี้มีความเชื่อมั่นต่อโครงการของตนมากขึ้น และมีความรู้สึกว่าสามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยน แปลงของตลาดหุ้นได้รวดเร็วยิ่งขึ้น อันจะเป็นประโยชน์และมีความสำคัญยิ่งขึ้นในภาคการบริการด้านการเงิน
เจ้าหน้าที่ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS) หรือเจ้าหน้าที่ระบบการบริหารด้านข่าวสารมีความตั้งใจที่จะเพิ่มพูนประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (EIS) ของบริษัทเงินทุน Fidelity อย่างต่อเนื่อง นายอัลเบิร์ด นิคมี ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาระบบและหัวหน้าโครงการระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (EIS) มีความสนใจเป็นพิเศษ ในการที่จะเพิ่มขีดความสามารถในส่วนที่บกพร่องของระบบ EIS
ปัญหาและข้ออภิปราย
1. ข้อดีและข้อเสียของระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (EIS) มีอะไรบ้าง
2. เหตุใดการออกแบบระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (EIS) จึงเป็นการยากมากสำหรับบริษัทเงินทุน Fidelity
3. ท่านคิดว่าระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (EIS) ของบริษัทเงินทุน Fidelity จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้อย่างไรดูเพิ่มเติม
ข้อดี ของระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (EIS)
- มีความยืดหยุ่นสูง สามารถเข้ากันได้กับรูปแบบการทำงานของผู้บริหาร มีการประมวลผลและแสดงรายงานต่างๆ ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
- การเข้าใช้ข้อมูลของผู้บริหารมีความสะดวกและรวดเร็วต่อการเรียกดูข้อมูลข่าวสาร เนื่องจากเปลี่ยนเป็นระบบ On-line
- ระบบสามารถใช้งานได้ง่ายผู้ปฏิบัติการระดับต่างๆ ประหยัดเวลาในการทำงานด้านเอกสาร เนื่องจากเปลี่ยนมาใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
- สามารถใช้งานในการตรวจสอบและควบคุมเงินทุนได้
- รองรับการสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง ที่ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน
- การสนับสนุนข้อมูล ทั้งภายในและภายนอกองค์กร
ข้อเสีย ของระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (EIS)
- หากเกิดปัญหากับเครื่อง Server อาจจะส่งผลต่อระบบสั่งการต่างๆได้เพราะ ลักษณะของระบบเป็นแบบสั่งจากส่วนกลาง (Server-Client)
- อาจเกิดปัญหามีข้อมูลรั่วไหลได้ง่ายซึ่งเป็นปัญหาทางด้านระบบรักษาความปลอดภัย (Security)
- มีค่าใช้จ่ายในการจัดทำระบบเป็นจำนวนเงินที่มากและต้องซื้ออุปกรณ์ที่ทันสมัยในราคาสูงเพื่อคุณภาพที่ดีของระบบ
ปัญหาของการออกแบบระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (EIS)
- ลักษณะของระบบเป็นในลักษณะของกิจการเงินทุนร่วมจากหลายบริษัท ดังนั้นเป็นการยากและซับซ้อนที่จะออกแบบหรือพัฒนาระบบให้ตรงตามความต้องการของผู้บริหารระดับสูงในทุกๆบริษัท
- เนื่องจากระบบเป็นในลักษณะระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (On-line)ทางด้านการเงินอาจจะมีผลทำให้บริษัทอื่นๆได้ข้อมูลที่สำคัญและนำไปปรับแผนใช้งานได้และอาจส่งผลเสียกับบริษัททำให้เสียดุลได้
ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (EIS) ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้
- ได้รับข้อมูลความรวดเร็วตรงตามความต้องการในเรื่องของการบริหารงานด้านการเงินและด้านข่าวสาร จะทำให้ผู้ใช้งานเกิดความมั่นใจในระบบว่ามีความถูกต้องและเที่ยงตรงของข้อมูล ส่งผลต่อความน่าเชื่อถือในแวดวงของวงการธนาคารและวงการด้านการเงินต่างๆ ซึ่งจะกลายเป็นจุดแข็งแก่บริษัทคู่แข่งได้
นางสาวภัทรวดี บุญสิงห์
รหัส 5411600377 นักศึกษาปริญญาโทสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศชั้นปีที่ 1
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น