ข้อเสนอเกี่ยวกับการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

วันพุธที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2554  ข้อเสนอเกี่ยวกับพัฒนาการใฃ้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการบริหารและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของจังหวัดมุกดาหาร
เรียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มนูญ  ศรีวิรัตน์
อ้างถึง หนังสือมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี วิทยาเขตมุกดาหาร ที่ ศธ ๐๕๒๙.๕.๒/๗๒๖ ลงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๔

อ้างอิงตามยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดมุกดาหาร
๑. การพัฒนาเกษตรกรรมและอุตสาหกรรรม
๒. การพัฒนาการท่องเที่ยว
๓. การพัฒนาการค้าชายแดน และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
๔. การรักษาความมั่นคง
จากยุทธศาสตร์พื้นฐานดังกล่าว เพื่อจะสร้างให้จังหวัดมุกดาหารกลายเป็นจังหวัดที่มีการพัฒนาทางด้านโครงสร้างเทคโนโลยีและการสื่อสาร และก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ และเป็นการดำเนินงานตามแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ฉบับที่ ๒) ของประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๒ - ๒๕๕๖
๑.  M =  Multi-Skilling  มีทักษะการทำงานได้หลากหลายที่จะเกิดการเรียนรู้
     U = Utility  สิ่งที่เป็นประโยชน์
    K = Knowledge  ความรู้ความเข้าใจ
    MUK-ITC หมายถึง  คนมุกดาหารจะเน้นการเรียนรู้ให้เกิดความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่เป็นประโยชน์เพื่อให้มีทักษะความสามารถทำงานหลากหลายโดยใช้ ICT
คือ  การที่จังหวัดมุกดาหารเองจะกลายเป็นจังหวัดที่บุคลากรมีความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยี  ความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยีนั้นจะทำให้จังหวัดมุกดาหารมีพื้นฐานที่แข็งแกร่งทางด้านการศึกษา  และมีบุคลากรที่ดี เทียบเท่ากับจังหวัดที่มีความเจริญด้านเทคโนโลยีแล้ว  อีกด้านหนึ่งเทคโนโลยียังสามารถเข้าไปเป็นศูนย์กลางของการค้าขายการพัฒนาอุตสาหกรรมกสิกรรม และสามารถติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงหรือประเทศแถบอาเซียนผ่านทางระบบ IT พร้อมกันนั้นยังเป็นการโปรโมททางด้นการท่องเที่ยว การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยการนำเอาเว็บไซต์มาเป็นสื่อกลาง   เพราะฉะนั้นระบบสารสนเทศจึงเป็นพื้นฐานต้นตอของการพัฒนาจังหวัดมุกดาหาร
๒. คุณประโยชน์ของ Social Network คือ เปรียบเสมือนเครือข่ายที่มีการเชื่อมโยงกันโดยผ่านทางระบบอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ทาง Facebook, hi5 ,twitter, Skye เหล่านี้เป็นต้น หรือหากจังหวัดมุกดาหารมีความต้องการจะสร้างเมล์เซฟเวอร์ของจังหวัดมุกดาหารเอง  เพื่อง่ายต่อการบำรุงรักษาและง่ายในการควบคุมแต่ Account ที่ใช้งานอยู่จริง
๓. Wireless คือ การที่จะเพิ่มสมรรถภาพในการนำใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างทั่วถึงและง่ายในการติดต่อใช้งานผ่านทางเมล์เซฟเวอร์ของจังหวัดมุกดาหารหรือ Social Network ของเครือข่ายอื่น  เราควรมีการติดตั้งระบบ Wireless ไว้ทุกๆส่วนทั้งในตัวจังหวัดและในอำเภอต่างๆ เช่น  ภายในหมูบ้าน , ชุมชน , โรงเรียน , และสถานที่ราชการต่างๆ  ดังนั้นเราควรนำเอาระบบอินเตอร์เน็ตที่มีความเร็วสูง ADSL ของบริษัทที่มีความทันสมัย  ตัวอย่างเช่น 3BB , TOT เป็นต้น
๔. การโฆษณาหรือการเผยแพร่ให้เข้าถึงแหล่งชุมชน คือ ควรมีการจัดตั้งสำนักงานหรือองค์กรใดองค์กรหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศและเทคโนโลยี พร้อมทั้งมีความรู้ความสามารถด้านนี้โดยตรง เพื่อที่จะได้นำเอาความรู้ดังกล่าวนั้นออกไปเผยแพร่และทำให้เห็นถึงคุณประโยชน์ และความสำคัญของเทคโนโลยีที่มีความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน (โลกไซเบอร์) เพราะเทคโนโลยีเป็นศูนย์กลางของมนุษย์ในโลกปัจจุบันนี้  ไม่ว่าจะเป็น  โทรศัพท์ , คอมพิวเตอร์ , อินเตอร์เน็ต , และอื่นๆอีกมากมาย  เพราะสิ่งเหล่านี้ล้วนแต่สร้างคุณประโยชน์และความสะดวกสบายให้แก่มนุษย์เราทุกคน
๕. การปฏิบัติ คือ การนำเอาความรู้ความสามารถที่เราได้รับการเผยแพร่มาแล้วนั้นมาทำให้เกิดประโยชน์กับตัวเรา ต่อชุมชน  และตัวจังหวัดมุกดาหารเอง เช่น การสร้างเว็บไซต์ใดเว็บไซต์หนึ่งขึ้นมา ที่มีการตอบสนองทางด้านการค้า , การอุตสาหกรรม , การกสิกรรม , การท่องเที่ยวแหล่งธรรมชาติต่างๆ  เพราะเว็บไซต์จะเป็นส่วนกลางที่ท่านสามารถค้นหาข้อมูล แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างตัวท่านเองกับผู้อื่นที่เข้ามาใช้เว็บไซต์ดังกล่าว  ซึ่งจะเกิดการติดต่อสื่อสารกัน  จะเป็นการเริ่มต้นในการค้าขายแบบออนไลน์
            ทั้งหมดที่กล่าวมานี้จะทำให้จังหวัดมุกดารหารเป็นจังหวัดที่มีความก้าวหน้าและเกิดความเข้มแข็งทางด้านเทคโนโลยีทุกๆด้านในอนาคต


             จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา



                                                          ด้วยความนับถือ


                                                     (นางสาวภัทรวดี  บุญสิงห์)
                                                      รหัส 5411600377
                                 นักศึกษาปริญญาโท สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ

ความคิดเห็น